อันดับ Artiodactyla
(Asiatic or Wild Water Buffalo) |
วงศ์ Bovidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bubalus bubals
ลักษณะทั่วไป
ควายป่าเป็นพวกสัตว์กีบคู่ กินพืชเป็นอาหาร
ระบบย่อยอาหารเป็นแบสัตว์เคี้ยวเอื้อง สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ
ฟันกรามบนเปลี่ยนเป็นสันฟันคมสำหรับตัดฉีดพืชจำพวกหญ้า ซึ่งเป็นเส้นใยย่อยยาก
ตัวเต็มวัยสูงประมาณ 1.5-2 เมตร หนักประมาณ 900-1,200 กิโลกรัม
ลักษณะเด่นทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขาบนหัวทั้ง 2 ข้าง แบบ HORN มีขนากใหญ่และกว้างโค้งไปด้านหลังคล้ายเสี้ยววงพระจันทร์
คำว่า มหิงสา
เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า ควาย นิยมเรียกควายป่าที่แตกต่างจากความบ้าน
เพราะมีขนาดใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด แข็งแรง ดุร้าย ปราดเปรียว รักอิสระ
ฉลาดเหนือกว่าควายบ้าน
ชีววิทยา
ควายป่าสายตาไม่ดี แต่ทีจมูกและหูไวต่อประสาทสัมผัสมีความทรหด อดทน
ไม่เกรงกลัวคนและดุร้ายกว่าสัตว์ป่าในตระกูลเดียวกัน ผสมพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาว ระหว่างเดือน
ตุลาคม-พฤศจิกายน ระยะตั้งท้องประมาณ 10 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ควายป่ามีอายุประมาณ
20-25 ปี
นิเวศวิทยา
แหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของควายป่า ได้แก่ ป่าทุ่ง
หรือป่าโปร่งตามที่ลุ่มต่ำที่มีหนองบึงและลำห้วยลำธารสำหรับนอนแช่ปรัก
อาหารได้แก่พวกหญ้าต่างๆ ใบไม้ หน่อไม้ และลูกไม้ต่างๆ
ควายป่ามักจะนอนแช่ปลักโคลนตอนกลางวันเพื่อต้องการให้โคลนที่เกาะติดอยู่ตามผิวหนังช่วยป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นการลดอุณหภูมิของร่างกาย
และเป็นเกราะป้องกันแมลงรบกวน
สถานภาพ
พบเฉพาะบริเวณพื้นที่ตอนใต้ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ซึ่งมีจำนวนเพียง 40 ตัว เท่านั้น และจำนวนประชากรคงที่มากว่า 20 ปี
จากการจัดสถานภาพโดย IUCN (2004) ควายป่ามีสถานภาพเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
(Critically Endangered) และจากการคุ้มครองโดยอนุสัญญาCITES
(2005) ควายป่าจัดอยู่ในบัญชี 3 (Appendix lll)
ปัจจัยคุกคาม
เกิดจากการถูกล่าเอาเนื้อและเอาเขาที่สวยงามรวมทั้งการถูกจับออกมาเพื่อใช้งาน
แต่ปัจจุบันปัจจัยที่ทำให้ประชากรควายป่าเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เกิดจากการสูญเชื้อพันธุ์ป่าเพราะไปผสมกับควายบ้าน การสูญเสียลูกควายป่าที่เกิดใหม่
เนื่องจากเป็นเหยื่อของเสือโคร่ง หรือจมน้ำเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำหลากท่วมฉับพลัน
Cr.หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น