นกแต้วแล้วท้องดำ



อันดับ : Passeriformes
วงศ์ : Pittidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pitta gurneyi พบนกแต้วแล้วท้องดำครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2418-2420 ที่จังหวัดระนอง โดยนาย W. Davisionและต่อมาในปี พ.ศ. 2422 นาย Home ประกาศว่าพบนกแต้วแล้วท้องดำที่จังหวัดภูเก็ต หลังจากนั้นจึงมีการเก็บตัวอย่างนกแต้วแล้วท้องดำมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ.2528 ได้มีการแถลงข่าวจากสถานีโทรทัศน์ BBC ว่า “มีความเป็นไปได้ที่ว่านกแต้วแล้วท้องดำได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว” ทำให้นกแต้วแล้วท้องดำได้รับการจัดสถานภาพจาก IUCN Red Data Book ว่าเป็นนกที่อยู่ในสภาวะวิกฤติและยังไม่ทราบสถานภาพที่แท้จริง ปัจจุบันนกแต้วแล้วถูกจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อันดับ 7 ของโลก จากบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ 6,000 ชนิด

ลักษณะทั่วไป
(Black-breasted Pitta)
นกชนิดนี้เป็นนกที่มีขนาดเล็ก 21-22 เซนติเมตร สวยงาม ตัวป้อม น่ารักโดยจัดเป็นนกที่สวยงาม 1 ใน 30 ของโลก ตัวเมียหัวและท้ายถอยสีน้ำตาลเหลืองมีแถบคาดตาสีดำและขนหูสีดำ คอ อก และท้อง มีสีขาวครีมอมเหลือง และมีแถบคาดสั้นสีน้ำตาลดำ ปีกหลังสีน้ำตาลแดง หางสีฟ้าอ่อน ตัวผู้ หัวและท้ายถอยสีน้ำเงินแกมฟ้าสดใสตัดกับหน้าผากสีดำสนิท ไปจนถึงก้น ข้างลำตัวสีเหลืองและมีแถบสีน้ำตาลดำสั้นๆขวางบริเวณสีข้าง ปลายปีกแถบสีขาวจางๆ และหลังสีน้ำตาลแดง มีหางสีฟ้าอ่อน แรกเกิดนกชนิดนี้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องพึ่งพาพ่อ แม่ หลังจากนั้นจะมีขนหลอดบนหัว ปี และหลัง ปากสีส้ม จนประมาณ 15 วัน ขนหลุดออกหมดแต่สีของลูกนกจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ยังไม่สามารถแยกเพศได้

การแพร่กระจาย
ทั่วโลกพบเพียง 2 พื้นที่ คือบริเวณ ทางภาคใต้ของประเทศไทยและเทือกเขาตะนาวศรีตอนใต้ประเทศพม่า ปัจจุบันในเมืองไทยพบการกระจายของนกบริเวณที่ราบต่ำเขานอจู้จี้ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประบางคราม กระบี่) โดยใน พ.ศ. 2547 พบ 20 คู่

ชีววิทยา
เป็นสัตว์ที่หากินบนพื้นดิน โดยกระโดอย่างคล่องแคล่วและใช้ปากจิกลงบนผิวหน้าดินและมีการพลิกใบไม้เพื่อหาอาหารนกชนิดนี้มีการร้องจับคู่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม โดยปกติจะร้อง ทริบ-ทริบ หรือวิบ-วิบ ตัวผู้มักเป็นฝ่ายร้อง เมื่อมีอันตรายเข้าทาใกล้รัศมีตัวผู้และตัวเมียจะร้องสื่อสารกัน ฮุ-ฮุก ในระยะไม่เกิน 10-15 เมตร นกแต้วแล้วทองดำมีการสร้างรังกลมคล้ายลูกบอล โดยจากเศษกิ่งไม้มักทำรังบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมคม ออกไข่เฉลี่ย 3-4 ฟอง/รัง ฟักไข่ประมาณ 14-15 วัน ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันฟักในช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืนตัวเมียจะฟัก ซึ่งแม่นกจะกกอยู่ประมาณ 5 วัน เพียงแต่จะนำเอาอาหารมาให้ เมื่อขาเริ่มแข็งจะยืดตัวออกมาที่ปากรังโดยแม่นกและพ่อนกจะเลี้ยงลูกประมาณ 14-16 วัน แต่ละตัวจะออกจากรังไม่พร้อมกัน

นิเวศวิทยา
พบอาศัยตามป่าดิบชื้นที่ราบต่ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 70-150 เมตร สภาพป่ามีแดดส่องพื้นรำไร อาณาเขตครอบครองของนกแต้วแล้วคาดว่าน่าจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำในรอบปี

สถานภาพ
เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์

ปัจจัยคุกคาม
พื้นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลาย ทำให้กระจายเป็นหย่อมๆ อัตราความสำเร็จในการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติต่ำ เนื่องจากมีศัตรูทางธรรมและยังพบปัญหาทางสภาพอากาศ และมีชาวบ้านมาใช้ประโยชน์พื้นที่ในการหาของป่า นอกจากนี้ยังมีนักท่องเที่ยวหรือนักดูนกบางส่วนรบกวนซึ่งเป็นผลกระทบต่อการดำรงชีวิต

Cr.หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น