เเรด


อันดับ Perissodactyla
วงศ์ Rhinocerotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhinoceros sondaicus

ลักษณะทั่วไป
(Javan Rhino)
แรดเป็นสัตว์ที่มีหนังพับหรือหนังย่น เช่นเดียวกับช้าง โดยหนังของแรดมีสีน้ำตาลเทา มีรอยย่น มองดูคล้ายแรดสวมเสื้อเกราะอย่างแน่นหนามั่นคง แรดมีเขาที่จมูก เรียกว่า นอ แรดมีฟัน 1 คู่ มีกีบเท้าทั้ง 4 ข้างๆ ละ 3 กีบ แรดเป็นสัตว์ที่มีริมฝีปากบนงุ้มเป็นจะงอยทำหน้าที่คล้ายมือในการนำอาหารเข้าปาก

การแพร่กระจาย
ในอดีตแรดมีการแพร่กระจายตั้งแต่ตะวันตกของอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย แลอินโดนีเซีย ปัจจุบันพบอาศัยอยู่ในพื้นที่ 2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติ Udjung Kulon National Park ในอินโดนีเซียและอุทยานแห่งชาติ Cat Tien
National Park ในเวียดนาม ในประเทศไทยแรดมีชื่ออีกอย่างว่า ระมาด ที่อยู่ของแรด เช่นบางระมาดในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และแม่ระมาดที่จังหวัด ตาก นอกจากนี้ยังพบแถบชายทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยที่สุนทรภู่ได้พรรณนาไว้ในนิราศเมืองแกลง

ชีววิทยา
แรดสายพันธุ์ย่อย R.s. annamiticus หนักประมาณ 900-1,400 กิโลกรัม และ R.s. sondaicus หนังประมาณ 1500-2000 กิโลกรัม สูง 150-180 เซนติเมตร อายุยืน 40 ปี ระยะตั้งท้อง 480 วัน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว

นิเวศวิทยา
แรดเป็นสัตว์ชอบพื้นที่ราบต่ำ ที่ชื้น และมีแหล่งน้ำสมบูรณ์ หากินตัวเดียว ตาของแรดมองวัตถุที่อยู่ด้านหน้าได้ไม่ดี แรดชอบส่ายหัวไปมาเพื่อให้เห็นวัตถุที่อยู่ตรงหน้า แรดมีประสาทในการรับกลิ่นและเสียงที่ดีมาก แรดเป็นสัตว์ที่ชอบนอนปลัก โคลนเลนที่ติดตามตัวจากการนอนปลักยังมีกลิ่นของแรด ซึ่งโคลนนี้จะติดอยู่ตามต้นไม้ที่แรดถู อันแสดงอาณาเขต  แรดปัสสาวะตามต้นไม้เพื่อบอกอาณาเขต ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ สัตว์ผู้ล่าขนาดใหญ่ เช่น เสือโคร่ง ที่อาจจับลูกแรดกินเป็นอาหาร

สถานภาพ
ปัจจุบันพบอาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติ 2 แห่ง คือ Cat Tien National Park ในเวียดนาม มีประชากรราว 5-8 ตัว และใน Udjung Kulon ในอินโดนีเซีย มีประกรราว 50-60 ตัว ไม่มีประชากรอยู่ในสวนสัตว์ แรดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และจากการคุ้มครองโดยอนุสัญญา CITES (2005) แรดจัดอยู่ในบัญชี1 (Appendix)

ปัจจัยคุกคาม
เป็นสัตว์เชื่องช้าไม่ปราดเปรียวทำให้ถูกล่าได้ง่าย ประกอบกับพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของแรดแต่ละครั้งใช้เวลานานมาก อาจกินเวลา 83 นาที มนุษย์จึงเชื่อในสรรพคุณของแรดที่ใช้เป็นยาโป๊ว โดยเฉพาะนอที่นำมาบดเข้าเครื่องยา
Cr.หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น