นกกระเรียนไทย


 (Eastern Sarus Crane)
อันดับ : Gruiformes
วงศ์ : Gruidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grus Antigone

ลักษณะทั่วไป
รูปร่างคล้ายคลึงกับนกกระสา โดยนกกระเรียนมีความยาวจากปากจรดปลายหาง 152-156 เซนติเมตร น้ำหนัก 5-12 กิโลกรัม ความสูงขณะยืนประมาณ 150 เซนติเมตร ตัวเต็มวัยลำตัวสีเทา ปากและกระหม่อมตอนหน้าสีเขียว หัวและคอตอนบนเป็นหนังสีแดง ไม่มีขน ขนปลายปีกมี 11 เส้น ขนปลายปีกและขนคลุมขนปลายปีกสีดำ ขณะหุบปีกปีกยาวเกืบถึงหาง หางสั้นสีเทา ขายาวมาก นิ้วสั้นประมาณ 1ใน3 ของความยาวแข้ง เล็บทู่ ขาและนิ้วเท้าสีแดง ตัวไม่เต้มวัยมีขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลอมเทาหัวและคอตอนบนมีขนสีเนื้อหรือน้ำตาลอมเหลือง

การแพร่กระจาย
ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้วจากแหล่งธรรมชาติในประเทศไทย

ชีววิทยา
·       อุปนิสัยและอาหาร
พบอยู่รวมกันเป็นฝูง 60-70 ตัว หากินตอนกลางวัน อยู่ตามชายน้ำ โดยนกกระเรียนกินทั้งพืชและสัตว์ นกกระเรียนเป็นสัตว์ที่มีเสียงร้องที่ดัง ขณะร้องลำตัวจะฟูขึ้น คอตั้งปากชี้ฟ้า การร้องของนกกระเรียนแสดงถึงการเกี้ยวพาราสี
·       ชีววิทยาการสืบพันธุ์
นกกระเรียนผสมพันธ์ในช่วงฤดูฝน จับคู่กันแบบผัวเมียเดียว ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะสร้างรังบนพื้นดิน คล้ายกระจาด กว้างประมาณ 60-240 เซนติเมตร นกกระรียนใช้เวลาในการฟักไข่ 30-34 วัน สามารถบินและแยกตัวจากพ่อแม่ เมื่ออายุ 9-10 เดือน นกกระเรียนโตเต็มวัยและเริ่มจับคู่เมื่ออายุ 3-5 ปี
·       ศัตรูทางธรรมชาติ
หมานในและหมาจิ้งจอกรวมถึงเหยี่ยวที่ล่านกกระเรียน

นิเวศวิทยา
สมัยก่อนพบบริเวณตามทุ้งนาแทบทุกภาค

ปัจจัยคุกคาม
แหล่งอาศัยและแหล่งหากินถูกเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน
Cr.หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น