เก้งหม้อ


อันดับ : Artiodactyla
วงศ์ : Cervidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Muntiacusfeae
(Fea’s Barking Deer)

ลักษณะทั่วไป
เก้งหม้อนั้นมีขนาดใกล้เคียงกับเก้งธรรมดา ตัวผู้จะมีเขาเหมือนกวาง โดยมีการผลัดเขาทุกปี แต่เขาเก้งหม้อจะสั้นกว่าเก้งธรรมดา เขาสั้นมี 2 กิ่ง กิ่งหน้าสั้นและกิ่งหลังยาว คล้ายรูปตัววี ขนลำตัวของเก้งหม้อมีสีดำ ส่วนท้องสีขาว ขนาดลำตัว 10.3 เซนติเมตร หูยาว 7.6 เซนติเมตร ขาหลังยาว 22.8 เซนติเมตร หนักประมาณ 22 กิโลกรัม

การแพร่กระจาย
มีกระจายตั้งแต่จังหวัดตากจนถึงกาญจนบุรี

ชีววิทยา
พบว่าเก้งหม้อมีช่วงเวลากิจกรรมระหว่าง 06.00-19.00 . ขณะที่เก้งธรรมดามีช่วงเวลาทำกิจกรรมเกือบตลอด 24 ชั่วโมง

นิเวศวิทยา
เก้งหม้อชอบอาศัยเดี่ยวๆ ตามลำพังในป่าดงดิบ บนที่ราบสูง หรือ ภูเขา มีระยะการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันประมาณ 2 กิโลเมตร

สถานภาพ
เนื่องจากการอาศัยของเก้งหม้อเป็นพื้นที่ที่จำกัด ทำให้ถูกล่าได้ง่าย

ปัจจัยคุกคาม
ถูกล่า โดยการใช้แร้วที่ทำจากลวดสลิง ตามทางด่านล่าสัตว์ทำให้เก้งหม้อหายากมากขึ้น
Cr.หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น