อันดับ Artiodactyla
(Brow-antlered Deer) |
ลักษณะทั่วไป
ละมั่งจัดเป็นกวางขนาดกลาง หนังประมาณ 95-150 กิโลกรัม
ขนละเอียดแน่นสีน้ำตาล ขนด้านบนสีแดงออกน้ำตาล ท้องสีขาว มีขนสีขาวรอบหู ตาและ คาง
ลำคอยาว ใบหูใหญ่กาง ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย
ละมั่งมีเขาเฉพาะตัวผู้เป็นเขาแบบเขากวาง ที่งอกติดกับส่วนของกะโหลก
เมื่อเขาแก่เต็มที่จะผลัดทิ้งไป และงอกออกมาใหม่
การแพร่กระจาย
พบในเอเชียตั้งแต่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย กระจายลงไปพม่า ไทย
ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำของประเทศจีน
ละมั่งพันธุ์ไทยพบการกระจายแถบเทือกเขาพนมดงรัก กัมพูชา ลาว และเกาะไหหลำ ในประเทศไทยพบทั้งพันธุ์ไทยและพันธุ์พม่า
ชีววิทยา
ละมั่งเป็นสัตว์จำพวกกวาง เท้ามีกีบ 2 กีบ
สามารถสำรอกอาหารมาเคี้ยวเอื้องได้
มีกระดูกกรามบนดัดแปลงเป็นสันคมเพื่อใช้ร่วมกับฟันล่างในการแทะเล็มอาหาร
มีต่อมขนาดใหญ่บริเวณหัวตา มีการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนราวเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
วัยเจริญพันธุ์ของตัวผู้อายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป ตัวเมีย 2 ปีขึ้นไป
มีการตั้งท้องนานประมาณ 8 เดือน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนถึง 20 ปี
นิเวศวิทยา
ละมั่งมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ จนถึง 50 ตัว อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง
ป่าโปร่ง ทุ่งหญ้า บริเวณใกล้ๆ หนองน้ำ
บางครั้งละมั่งก็ลงไปนอนแช่ปลักเหมือนกับควาย
ละมั่งเป็นสัตว์กินพืชชอบกินหญ้าและลูกไม้มากกว่าใบไม้
สถานภาพ
มีรายงานพบละมั่งในธรรมชาติเพียง 3
ตัวที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เมื่อปี 2539
แต่ปัจจุบันไม่มีรายงานการพบดังกล่าว
และมีผู้กล่าวว่าละมั่งพันธุ์ไทยได้สูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติของไทยและเวียดนามแล้ว
แต่ละมั่งในกรงเลี้ยงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยมีการเลี้ยงละมั่งในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าของทางราชการหลายแห่ง
และ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี มีจำนวนมากกว่า 150 ตัว
ละมั่งพันธุ์ไทยมีเลี้ยงอยู่แห่งเดียว คือ สวนสัตว์ดุสิตกรุงเทพฯ
จากการจัดสถานภาพโดย IUCN (2004) ละมั่งมีสถานภาพเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์
(Endangered) และจากการคุ้มครองโดยอนุสัญญา CITES
(2005) ละมั่งจัดอยู่ในบัญชี1 (Appendix l)
ปัจจัยคุกคาม
มี 2ประการ คือ การล่า และการทำลายที่อยู่อาศัย ซึ่งที่สำคัญ คือ
แหล่งที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลาย กลายเป็นแหล่งชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม
Cr.หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น