ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseudochelidon sirintarae
ชื่อพ้อง Eurochelldon sirintarae
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก
ขนหางคู่กลางอาจยาวถึง 8.75 เซนติเมตร
ตัวเต็มวัยสีจะออกเป็นสีดำหรือสีดำเหลือบน้ำเงินเข้ม
บริเวณหน้าผากมีขนดำคล้ายกำมะหยี่ มีลายพาดสีขาวที่ตะโพก ปากสีเหลือง
นัยน์ตาและม่านตาขาว มีสีชมพูเรื่อๆ เป็นวงในม่านตา รอบตามีวงสีขาว
แข้งและขาสีชมพู ขนหางสั้นกลมมน โคนหางสีขาว
มีแกนขนลักษณะคล้ายเส้นลวดยื่นออกไปจากขนหางคู่กลาง ขนปีกด้านล่างสีน้ำตาลซีด
ชีววิทยา
ฤดูผสมพันธุ์ จะเป็นน่าร้อนประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน
การแพร่กระจาย
พบในประเทศไทยเท่านั้น
มีรายงานการพบเห็นตัวเพียงแห่งเดียวที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
นักปักษีวิทยาบางท่านเสนอว่านกชนิดนี้น่าจะทำรังวางไข่ในประเทศจีนแต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน
นิเวศวิทยา
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร อาศัยอยู่ตามป่าจูด ป่ากก ป่าหญ้า
หรือตามดงอ้อและพืชน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด เป็นนกที่ค่อนข้างเชื่อง ไม่ปราดเปรียว
มักยืนนิ่งบนพื้นดิน มีการอพยพหากินไปตามลำน้ำเป็นระยะทางไกลๆอย่างนกนางแอ่นเทียมคองโก
ซึ่งจัดเป็นนกในสกุลเดียวกันนี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
อาจจะเป็นนกกลางคืน
โดยพิจารณาจากการที่มันมีตาที่โตผิดปกติทำให้เป็นไปได้ว่าปกติแล้วมันเป็นนกที่อยู่ในถ้ำหรือทำรังในโพรงต้นไม้หรือก้อนหินและออกมาหาอาหารในช่วงเวลาโพล้เพล้หรือมืดค่ำแล้ว
สถานภาพ
ยังไม่ทราบสถานภาพที่แท้จริง
อาจเป็นนกประจำถิ่นหรือนกอพยพมาช่องนอกฤดูผสมพันธุ์
จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง จำนวนที่พบในประเทศไทย มกราคม พ.ศ.2511
พบ 2 ตัว กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2511 พบ 7ตัว ธันวาคม พ.ศ. 2511 พบ 1 ตัว ต้นปี 2514 พบ 2
ตัว มกราคม พ.ศ. 2535 มีผู้รายงานว่าพบนกที่อาจจะเป็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 4 ตัว
พ.ศ.2529 จับได้ 1 ตัว
ปัจจัยคุกคาม
อดีตแต่ละปีในฤดูหนาว นกชนิดนี้จะถูกจับไปพร้อมกับนกนางแอ่นชนิดอื่น
ถูกทำลายโดยการประมง การควบคุมระดับน้ำเพื่อการพัฒนาหลายรูปแบบ
มีการใช้ยาฆ่าแมลงกับอย่างแพร่หลายและสภาพแวดล้อมแบบเมืองได้ขยายตัวไปอย่างกว้างขวาง
โครงการก่อสร้างฝาย เขื่อน ทำให้ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรหายไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น