พะยูน หรือหมูน้ำ


(Dugong)
อันดับ : Sirenia
วงศ์ : Dugongidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dugong dugon

ลักษณะทั่วไป
พะยูนมีลำตัวคล้ายโลมา สีเทาอมชมพูหรือสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเทา สีของส่วนท้องอ่อนกว่า ส่วนหัวประกอบด้วยปาก รูจมูก และริมฝีปากมีขนาดหนาและใหญ่เรียกว่า Muzzle มีขนสั้นๆประปรายตลอดลำตัว และขนเส้นใหญ่หนาแน่นบริเวณปากท ตาและหูมีขนาดเล็ก รูจมูกมีลิ้นเปิด-ปิด เฉพาะด้านหน้าของส่วนหัวจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อหายใจทุกๆ 1-2 นาที มีครีบ ในตัวเมียจะมีหัวนมขนาดใหญ่ชัดเจน ส่วนตัวผู้จะเป็นเพียงตุ่มเล็กๆ

การแพร่กระจาย
ในประเทศไทยพบว่าอาศัยกระจายตามชายฝั่งทะเลอันดามันจากระนองถึงสตูล พบมากที่สุดบริเวณเกาะลิบง-เกาะมุกต์ ส่วนทางอ่าวไทย พบบริเวณ ระยอง ตราด ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราชและปัตตานี

ชีววิทยา
พะยูนหนักประมาณ 200-300 กิโลกรัม ยาวประมาณ 3.15-3.31 เมตร มีอายุยาวประมาณ 70   ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 9-10 ปี ทั้งสองเพศระยะตั้งท้องนาน 13-14 เดือน

นิเวศวิทยา
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในทะเลเพียงชนิดเดียวที่กินเฉพาะพืชเป็นอาหาร มีระบบย่อยอาหารซึ่งสามารถย่อยเซลลูโลสของพืชได้ ว่ายน้ำเชื่องช้า อาจอยู่ตัวเดียวหรือรวมเป็นกลุ่มเป็นฝูง อาหารคือหญ้าทะเล

สถานภาพ
ปัจจุบันในประเทศไทยมีเพียง 200 ตัว จึงจัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

ปัจจัยคุกคาม
มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้พะยูนลดลง เนื่องจากความเชื่อเรื่องการใช้ประโยชน์จากชิ้นส่วนปลาพะยูนในอดีตนอกจากการล่าเพื่อนำเนื้อมาบริโภคแล้ว ยังมีความเชื่อว่าน้ำมันพะยูนสามารถรักษาโรคได้สารพัด กระดูกของพะยูนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในโรงงานน้ำตาลและเป็นเครื่องราง หนังซึ่งหนาเหมาะทำผ้าเบรคม้า ฟอกทำรองเท้าแตะหรือนำไปเคี่ยวจนได้กาว เขี้ยวพะยูนเมื่อขัดเงาแล้วสามารถทำด้ามมีดหรือด้ามกริซ และยังมีความเชื่ออีกอย่างว่าน้ำตาพะยูนนำไปทำยาเสน่ห์ได้
Cr.หนังสือสัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น